[NW001] Basic Network Installation and Troubleshooting
       
จองที่นั่งอบรม

เนื้อหาหลักสูตรเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้การทำงานเกี่ยวกับระบบ Network ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นพื้นฐานจนถึงระดับปานกลาง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้าน Network มาก่อน เช่น นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย, นักศึกษาที่จบใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานสาย Network มาก่อน, ผู้ที่ทำสายงานด้านอื่นๆอยู่ที่ไม่ใช่งานด้าน Network โดยตรง หรือ ผู้ที่เริ่มต้นทำสายงานด้าน Network ใหม่ๆ ซึ่งการทำงานด้าน Network ความเข้าใจพื้นฐานอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ และเข้าใจการทำงานของระบบ Network อย่างถูกต้องตามหลักการในทางปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และได้ฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง ทั้ง Switch Cisco, Router Cisco, Wireless Access Point รวมทั้งการจัดตั้งค่า Windows 10 และ 11 สำหรับการใช้งานผ่าน Network ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปูพื้นฐานความรู้เพื่อก้าวต่อไปสู่การสอบ Cert CCNA สาย Network ของค่าย Cisco และ Cert MCSA สาย System ของค่าย Microsoft อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับ ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ทำงานจริงได้กับอุปกรณ์ Network ทุกยี่ห้ออีกด้วย

พิเศษ เพิ่มเนื้อหาการนำ Internet Protocol version 6 ไปใช้ในการทำงานจริงกับทุกองค์กร

หลักสูตรแนะนำถัดไป : CCNA, Advanced Switch, Wireless LAN, Windows Server, Linux System Admin

รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร

1. แนะนำ และอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจการทำงานของระบบ Enterprise Network

  • เรียนรู้หลักการทำงานของ OSI Model 7 Layers
  • แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ OSI Model และความสำคัญ
  • หลักการทำงานของ Layer 1 : Physical Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 2 : Data Link Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 3 : Network Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 4 : Transport Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 5 : Session Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 6 : Presentation Layer
  • หลักการทำงานของ Layer 7 : Application Layer
  • เปรียบเทียบระหว่าง OSI Model และ TCP/IP Protocols
  • การนำ OSI Model ไปใช้ในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาในระบบ Network จริง

2. เทคนิคการใช้งานสาย Cable ชนิดต่างๆ และ Topology การเชื่อมต่อ

  • มาตรฐานสายสัญญาณตีเกลียวแบบ UTP/STP Cable
  • สาย UTP/STP Cable เชื่อมต่อแบบ Star Topology
  • เทคนิคการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาสาย UTP/STP Cable
  • มาตรฐานสายสัญญาณใยแก้วนำแสง Optical Fiber Cable
  • เทคนิคการออกแบบติดตั้งเครือข่ายด้วยสายใยแก้วนำแสง
  • สาย Optical Fiber Cable เชื่อมต่อแบบ Point-to-Point Topology
  • เทคนิคการเข้าหัว Connector สำหรับสายใยแก้วนำแสง
  • เทคนิคการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการเดินสายใยแก้วนำแสง
  • สาย Serial Cable (V.35 Cable) เชื่อมต่อสำหรับ WAN Link

3. เรียนรู้หลักการทำงานของ Internet Protocol version 4 (IPv4)

  • แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ IPv4 Address
  • การแปลงเลขฐานระหว่าง Decimal (ฐาน 10) กับ Binary (ฐาน 2)
  • กลุ่ม Class ต่างๆ ของ IPv4 Address
  • รูปแบบการ ส่ง-รับ Packets ข้อมูลบน IPv4
  • เทคนิคการนำ 127.0.0.1 ที่เป็น Loopback Address ไปใช้งานทำงานจริง
  • จำนวน Hosts หรือ IP ที่จะมีได้มากสุดในแต่ละ Class
  • หน้าที่ของเลข Network ID และ Broadcast ID
  • รายละเอียดชุด IPv4 ส่วนที่เป็น Private IP Address
  • แบบฝึกหัดทบทวน IPv4 ที่เป็นรูปแบบ Major Class
  • แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการแบ่ง Subnet
  • ประเภทของการแบ่ง Subnet ทั้งแบบ FLSM และ VLSM
  • ตัวอย่างการออกแบบ Subnet แบบ FLSM
  • ตัวอย่างการออกแบบ Subnet แบบ VLSM
  • ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลข Prefixed Length กับ Subnet Mask
  • แนะนำ และอธิบายหลักการงานของ Internet Protocol version 6
  • เทคนิคการนำ IPv6 ไปใช้ในการทำงานจริงกับทุกองค์กร

4. เรียนรู้การทำงานของ Switch Network

  • อธิบายหลักการทำงานของ Switch พื้นฐาน
  • การทำงาน Port ของ Switch ภายใต้ Layer 1
  • พฤติกรรมการทำงานพื้นฐานของ Switch ภายใต้ Layer 2
  • ประเภทการ Forward Frames ข้อมูลของ Switch
  • ประเภทการใช้งานอุปกรณ์ Switch
  • การใช้งาน Access Switch (Desktop Switch)
  • การใช้งาน Stack Able Switch (Stack Wise)
  • การใช้งาน Modular Switch (Chassis Switch)
  • การใช้งาน Layer 3 Switch (Multilayer Switch)
  • เครือข่าย LAN แบบ Flat Network และ แบบ Hierarchical
  • หลักการเชื่อมต่อ Switch ในรูปแบบต่างๆ
  • การออกแบบเครือข่ายที่ใช้ Switch หลายตัว
  • หลักการทำงานของ Spanning Tree Protocol (STP)
  • มาตรฐาน IEEE802.1D และ IEEE802.1W (Rapid STP)
  • หลักการทำงานของ Virtual LAN (VLAN)
  • หลักการทำงานของ Inter VLAN Routing
  • เครือข่าย LAN แบบ Fast Ethernet (100 Mbps)
  • เครือข่าย LAN แบบ Gigabit Ethernet (1 Gbps)
  • เครือข่าย LAN แบบ Ten Gigabit Ethernet (10 Gbps)
  • รายละเอียด Mode Configuration บน Switch ของ Cisco

  • Lab 1 : การเปิด Telnet Session บนตัว Switch Cisco
  • Lab 2 : การจัดตั้ง Port Security บนตัว Switch Cisco
  • Lab 3 : การสร้าง VLAN และ จัด Port เป็นสมาชิกของ VLAN
  • Lab 4 : การจัดตั้ง Trunk Port บนอุปกรณ์ Switch Cisco
  • Lab 5 : การปรับเปลี่ยนจาก IEEE802.1D ไปเป็น IEEE802.1W
  • Lab 6 : การจัดตั้ง Link Aggregation (LAG) หรือ EtherChannel
  • Lab 7 : การจัดตั้ง Inter VLAN Routing ด้วย Router Cisco

5. เรียนรู้การทำงานของระบบ Wireless LAN

  • มาตรฐานต่างๆ ของระบบ Wireless LAN
  • การทำงานของมาตรฐาน IEEE802.11a/b/g/n
  • การทำงานของมาตรฐาน IEEE802.11ac แบบใหม่
  • แนะนำอุปกรณ์ที่นำมาสร้างเครือข่าย Wireless LAN
  • ประเภท Mode การใช้งานอุปกรณ์ Access Point
  • การเชื่อมต่อ Wireless LAN แบบ Infrastructure Mode
  • รายละเอียดหลักการทำงานของ SSID, BSS และ ESS
  • การเชื่อมต่อ Wireless LAN แบบ Ad-Hoc Mode (Peer-to-Peer)
  • การเข้าใช้ช่องสัญญาณด้วยกลไก CSMA/CA และ ค่า Throughput ที่ได้จริง
  • การคำนวณจำนวน Client ที่จะเข้ามาใช้ AP ในทางปฏิบัติจริง
  • มาตรฐานความปลอดภัย (Security) ของระบบ Wireless LAN
  • มาตรฐาน WEP, WPA, WPA2 และ RADIUS Authentication (IEEE802.1X)
  • เทคนิคการวางระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN
  • Lab 1 : การจัดตั้ง Wireless LAN แบบ Ad-Hoc Network
  • Lab 2 : การจัดตั้ง Wireless LAN แบบ Infrastructure Network
  • Lab 3 : การจัดตั้งค่าความปลอดภัย (Security) บน Wireless LAN
  • Lab 4 : เทคนิคการจำกัด MAC Address ที่จะเข้ามาใช้งาน Wireless LAN

6. การใช้งาน Windows 10 และ 11 ในระบบ Network (Workgroup)

  • Lab 1 : การสร้าง Share Folder บน Windows 10 และ 11
  • Lab 2 : รูปแบบการเข้าถึง Share Folder บน Windows Client
  • Lab 3 : การสร้าง Hidden Share Folder บน Windows 10 และ 11
  • Lab 4 : การเปิด Telnet Session บน Windows 10 และ 11
  • Lab 5 : การเปิด Remote Desktop Connection บน Windows 10 และ 11
  • Lab 6 : การจัดตั้ง Windows Advanced Firewall บน Windows 10 และ 11

7. รูปแบบการใช้งาน Router เพื่อเชื่อมต่อเครือข่าย WAN

  • แนะนำระบบเครือข่าย WAN และ Internet
  • อธิบายหลักการทำงานพื้นฐานของ Router
  • การใช้งาน Router ในการเชื่อมต่อ WAN Link
  • รายละเอียดรูปแบบ Topology การเชื่อมต่อ Router
  • รายละเอียด Mode Configuration บน Router ของ Cisco
  • Lab 1 : การจัดตั้ง Static Route บนตัว Router Cisco
  • Lab 2 : การจัดตั้ง Static Default Route บนตัว Router Cisco

สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ

  • อบรมโดยวิทยากรที่ได้รับใบประกาศนียบัตรจาก Cisco ทั้งระดับ CCNA, CCDA, CCNP และ CCDP รวมทั้งมีประสบการณ์ทำงานจริง และ สอนหลักสูตร CCNA, CCNP มามากกว่า 10 ปี 
  • เรียนรู้กับอุปกรณ์จริงทุก LAB ทั้ง Switch, Wireless และ Router จากค่าย Cisco
  • LAB ถูกออกแบบมาเพื่อให้เห็นภาพการทำงานของระบบ Network ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • มีการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจผู้เข้ารับการอบรมหลังจากเรียนจบหลักสูตร
  • สามารถเข้ามาทบทวนซ้ำได้ฟรีภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่เรียนจบไปแล้ว
  • ใบรับรองผ่านการอบรมเป็น e-Certificate จากสถาบัน ITC Training Center Co., Ltd. ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ขององค์กรทุกระดับ ทั้งหน่วยงานทางภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดระยะเวลามากกว่า 15 ปี
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร
ระยะเวลาอบรม
4 วัน (28 ชั่วโมง)
เวลา 09:30 - 17:30 น.

จองที่นั่งอบรม
จองที่นั่งอบรม
ศูนย์อบรม
061-658-8288,
063-337-1483
Line OA : @itcert2005
เพิ่มเพื่อน


ค่าอบรม
9000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ดาวน์โหลด Course Outline
พิมพ์ Course Outline

หลักสูตรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แนะนำหลักสูตรต่อเนื่อง
- [NA005] CCNA Routing and Switching (เตรียมสอบ CCNA รหัส 200-301)
- [MS004] Windows Server 2016 & 2019 Administrator Workshop (Solutions Associate)

ตารางหลักสูตรอบรม Basic Network Installation and Troubleshooting
รอบวันธรรมดา
3-6 กันยายน 2567

17-20 กันยายน 2567
5-8 พฤศจิกายน 2567
 
รอบวันหยุด
2-3,9-10 พฤศจิกายน 2567
 
หลักสูตรอบรม
หลักสูตร NETWORKING
หลักสูตร MICROSOFT SYSTEM
หลักสูตร LINUX SYSTEM
หลักสูตร VIRTUALIZATION
หลักสูตร MICROSOFT OFFICE
หลักสูตร DEVELOPER, PROGRAMMER

หมายเหตุ:
หลักสูตรที่ได้รับแถมคอร์ส Online ต้องมีราคาตั้งแต่ 8,000 บาท ขึ้นไป